วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ท่องเที่ยวต่างประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ชาวต่างชาติ ในโครงการ "เรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์"

โครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ (Ship for Southeast Asian Youth Programme) เป็นโครงการตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง รัฐบาลญี่ปุ่นกับรัฐบาลประเทศในเอเชียอาคเนย์ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทยซึ่งทำขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2517 ในสมัยที่นายคาคุยอิ ทานะกะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าของโครงการและออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่สำหรับ ประเทศที่เข้าร่วมโครงการจะออกค่าใช้จ่ายบางส่วนในการจัดการต้อนรับคณะเยาวชนในแต่ละประเทศ 

ประเทศบรูไน และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้รับเชิญให้ส่งเยาวชนเข้าร่วม โครงการเมื่อเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2527 และ 2538 ตามลำดับ ต่อมา ปี 2540 ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่า ได้รับเชิญให้ส่งผู้แทน เข้าร่วมโครงการ 

ในปี 2551 เรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์จะนำคณะเยาวชนจากกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เข้าร่วมโครงการประเทศละ 28 คน และหัวหน้าคณะผู้แทนเยาวชน (National Leader) ประเทศละ 1 คน รวมทั้งคณะเยาวชนจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 40 คน รวม 330 คน ร่วมเดินทางไปกับเรือ โดยมีจุดเริ่มต้น (Assembly Point) ของการเดินทาง ณ ประเทศที่กำหนด และเรือดังกล่าวจะแวะเยือนประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ระยะเวลาการเดินทางจะอยู่ระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม – 11 ธันวาคม 2551 ในระหว่างการเดินทางจะมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมบนเรือและกิจกรรมในประเทศที่แวะเยือน ได้แก่ การอภิปรายในหัวข้อต่างๆ ที่กำหนด การกีฬาและนันทนาการ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน การพักกับครอบครัว ตลอดจนการทัศนศึกษาในประเทศต่าง ๆ รวมระยะเวลาการเดินทางทั้งหมดรวม 52 วัน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างเยาวชนญี่ปุ่นและเยาวชนอาเซียน
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม รวมทั้งการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาในระดับเยาวชน
3. เพื่อเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของแต่ละประเทศ
4. เพื่อฝึกฝนเยาวชนในการอยู่รวมกลุ่มและสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน
5. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ความรู้สำหรับนำไปใช้ประโยชน์แก่ประเทศชาติในอนาคต

กิจกรรมระหว่างเข้าร่วมโครงการ

1. ระหว่างที่อยู่บนเรือ
สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น                                             
- กีฬาและกิจกรรมนันทนาการ
- อภิปรายทางวิชาการตามหัวข้อที่กำหนด                            
- กิจกรรมชมรมต่างฯ 
- การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม             

2. ระหว่างที่พำนักอยู่ในประเทศต่างๆ 
- การเข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ                            
- การพบปะกับเยาวชนท้องถิ่น
- งานเลี้ยงต้อนรับ                                                 
- การเยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆ
- การฟังบรรยายทางวิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม                  
- การพักกับครอบครัวเจ้าภาพ
- การจัดเลี้ยงรับรองบนเรือ                                       
- การเปิดเรือให้เข้าชม

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

1. อายุระหว่าง 18-30 ปี 
2. สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
3. มีสุขภาพแข็งแรง สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการได้ตลอดระยะเวลาที่กำหนด
4. สามารถปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่มในระยะเวลานานได้

การยื่นใบสมัคร

ผู้สมัครต้องตรวจสอบด้วยตนเองว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุข้างต้นแล้วจึงยื่นใบสมัคร หากปรากฏในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือตรวจสอบผู้ว่ามีเอกสารที่ใช้ในการสมัครเป็นเอกสารเท็จ จะถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ แม้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกแล้วก็ตาม

หลักฐานประกอบการสมัคร

1. ใบสมัครที่กรอกข้อความชัดเจนและครบถ้วนด้วยตัวบรรจง ดูตัวอย่างใบสมัคร ที่นี่ (อยู่สองหน้าท้ายสุด)
2. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดำ จำนวน 1 รูป ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน โดยติดรูปถ่ายลงในใบสมัครให้เรียบร้อย
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 1 ชุด ลงชื่อรับรองสำเนาให้ถูกต้อง
4. สำเนาถูกบ้าน พร้อมรับรองสำเนา

ขั้นตอนการสมัคร

1. ประกาศรับสมัครช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม (คอยดูประกาศจาก www.opp.go.th)
2. ยื่นใบสมัคร
3. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ณ ป้ายประกาศหน้าหอประชุมสท. และ www.opp.go.th
4. สอบข้อเขียนภาษาอังกฤษ
5. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ณ ป้ายประกาศหน้าหอประชุมสท. และ www.opp.go.th
6. สอบสัมภาษณ์ 
7. ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือก
8. รายงานตัวและปฐมนิเทศ 
9. ฝึกอบรมเตรียมความพร้อม
10. เข้าร่วมโครงการ

การสมัครแบ่งเป็นเยาวชน 2 ประเภท
1.เยาวชนทั่วไป - เยาวชนจากทั่วประเทศ เยาวชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเยาวชนจากครอบครัวเจ้าภาพเยาวชน ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัคร

2.เยาวชนผู้แทนจังหวัด-เยาวชนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัคร เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนา/มีถิ่นที่อยู่ (กำลังศึกษาอยู่/กำลังทำงาน) ในจังหวัดที่ตนสมัคร โดยอาจเป็นเยาวชนเครือข่ายที่ปฏิบัติงานด้านเยาวชนในพื้นที่ เยาวชนดีเด่นในด้านต่างๆ หรือเยาวชนที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ: เยาวชน 28 คน ผู้นำเยาวชน 1 คน รวม 29 คน

ระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการ

1. อบรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมโครงการ ระหว่างวันที่ 1  10 สิงหาคม 
2. เข้าร่วมโครงการระยะเวลา  52 วัน ในระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม 11 ธันวาคม 

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ

1. รัฐบาลญี่ปุ่นรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าโดยสารเครื่องบินไป-กลับ ชั้นประหยัด (เที่ยวไป - กลับ)
- อาหารและเครื่องดื่มซึ่งบริการตามปกติบนเรือ
- ค่าพาหนะเพื่อการทัศนศึกษาตามกำหนดการของประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
- ค่าที่พักและอาหารในประเทศญี่ปุ่น

2. รัฐบาลไทยรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายในการคัดเลือก การฝึกอบรมเยาวชนเข้าร่วมโครงการ
- ค่าใช้จ่ายในการต้อนรับคณะเยาวชนโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ระหว่างแวะเยือนประเทศไทย
- ค่าเครื่องหมายเยาวชนพระราชทาน
- ค่าเครื่องแต่งกาย 

3. เยาวชนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าตรวจร่างกาย
- ค่าประกันชีวิต
- ค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือเดินทาง (Passport)
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมตามที่คณะเยาวชนไทยเห็นสมควร

หมายเหตุ:
1. เยาวชนที่ออกจากโครงการก่อนระยะเวลาสิ้นสุดโครงการตามที่กำหนดไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับเอง 
2. รัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ออกค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เจ็บป่วย และอุบัติเหตุยกเว้นในการรักษาพยาบาลกับแพทย์ประจำเรือ


กลุ่มประสานงานต่างประเทศ 
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน สำงานส่งเสริมสวัดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.)
18/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2255-5850-7 ,0-2253-9116-7 (อัตโนมัติ) 
โทรสาร: 0-2651-6483
Website: www.opp.go.th




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น