วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ว่าด้วยเรื่องหนังสือเดินทาง (Passport)

หลังจากที่เรียนรู้ข้อมูลโครงการไปต่างประเทศ เก็บเงิน เตรียมความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษแล้ว ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ หนังสือเดินทาง (Passport) 

หนังสือเดินทาง ถือเป็นเอกสารสำคัญที่กองหนังสือเดินทางกระทรวงต่างประเทศ ออกให้กับประชาชนไทย ผู้ซึ่งมีเหตุต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทย เพื่อใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อมูลบุคคล และประวัติการเข้าออกทั้งประเทศไทย และประเทศที่บุคคลนั้นๆ ไป อาจออกโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทย ณ ต่างประเทศ ทั้ง 86 แห่ง  ถือเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถใช้ได้ทั่วโลก และยังเป็นสมุดบันทึกการเดินทางเข้าออกประเทศต่างๆ อีกด้วย 

หนังสือเดินทางในประเทศไทยปัจจุบันนั้นมี 4 ประเภทได้แก่ 

1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม) หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ
3. 
หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด) ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ 

  • พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
  • พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
  • ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
  • ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
  • ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
  • อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
  • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
  • ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
  • ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
  • คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
  • บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม และหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

เอกสารที่ใช้ในยื่นทำหนังสือเดินทาง

1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. เอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี
- ใบเปลี่ยนชื่อ หรือสกุล
- ทะเบียนการรับรองบุตรบุญธรรม
- ทะเบียนการรับรองบุตร
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดา
3. ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง ค่าหนังสือ 1,000 บาท + ค่าถ่ายรูป 75 บาท + ค่าอากร 5 บาท+ ค่าเขียนคำร้อง 10 บาท รวมทั้งหมด 1,090 บาท ถ้าจะให้จัดส่งทางไปรษณีย์ เสียค่าส่งลงทะเบียนด่วนพิเศษอีก 40 บาท


ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทาง 

1. 
รับบัตรคิว รับบัตรคิว พร้อมทั้งกรอกชื่อ-สกุลภาษาอังกฤษ
2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อตรวจสอบข้อมูล
  • ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )
  • แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
3. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 40 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม


** การขึ้นหนังสือเดินทางเล่มใหม่ เพราะเล่มเก่าหมดอายุ แต่ว่ายังมี VISA ของประเทศต่างๆ ที่ยังใช้งานได้ ต้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับรองหนังสือเดินทางเล่มเก่าด้วย หากไม่ติดต่อ VISA จะใช้ไม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และค่าธรรมเนียม 100 บาท

สถานที่ทำหนังสือเดินทาง


กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
- ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
- โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 โทรสาร 0-2981-7256

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา
- ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร “บางนาฮอลล์”(ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B1
- โทรศัพท์ 0-2383-8401-3 โทรสาร 0-2383-8398

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
- ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ (ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700
- โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-2446-8118-9

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
- โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
- โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จ.สงขลา 9000
- โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี
- ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
- โทรศัพท์ 045-242313-4 โทรสาร 045-242301

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
- โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
- โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี
- ที่อยู่ ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
- โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810

การรับหนังสือเดินทาง 
  • ในต่างจังหวัดรับทางไปรษณีย์เท่านั้น ใช้เวลา 1 อาทิตย์ 
  • ในกรุงเทพหากมารับด้วยตนเอง รับหลังจากวันที่ยื่นเรื่อง 3 วันทำการ โดยยื่นพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน และใบรับหนังสือเดินทาง 

คำแนะนำในการใช้หนังสือเดินทาง 
  • ห้ามขีด เขียน หรือแก้ไขหนังสือเดินทาง
  • ก่อนออกเดินทางควรตรวจดูความเรียบร้อยของหนังสือเดินทาง และวันหมดอายุ หากใกล้อายุควรรีบต่ออายุก่อนออกเดินทาง
  • ถือเป็นหลักปฏิบัติและเป็นกฎเกณฑ์สำหรับหลายประเทศที่จะต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนก่อนการเดินทางออกนอกประเทศ หากหนังสือเดินทางมีอายุไม่ถึง 6 เดือน จะต้องยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางใหม่ รวมทั้ง วีซ่าควรตรวจสอบกับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลของประเทศที่กำลังจะเดินทางไป เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ก่อนเดินทาง
  • ก่อนออกเดินทางควรถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางไว้ 1-2 ชุด เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในกรณีที่หนังสือสูญหาย
  • ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน ควรแจ้งชื่อ ที่อยู่ให้สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่เดินทางไปพำนักทราบ รวมทั้งแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ทุกครั้ง เพื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยสามารถติดต่อท่านได้ในยามฉุกเฉิน

กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย
  • สูญหายในประเทศ ต้องติดต่อแจ้งความและรับใบแจ้งความจากตำรวจมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย
  • สูญหายในต่างประเทศ ต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตนหรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุดเพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่
  • หากในกรณีที่ผู้ทำหนังสือเดินทางสูญหายต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง (Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งาน


สำหรับผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องหนังสือเดินทาง สามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ที่ www.consular.go.th 

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามเรื่อง passport ด้วยนะค่ะ
    ดิฉันอยากจะขอพาสปอร์ตไอซ์แลนด์ ให้ลูก ที่เกิดกับแฟนคน ไอซ์แลนด์
    ตอนนี้ดิฉันอยุ่ที่ไทย กับลูก แฟน อยุ่ที่iceland เรายังไม่ได้จดทะเบียนสมรส กันค่ะ ดิฉันแจ้งเกิดลูกในไทย
    อยากทราบว่า เอกสารที่ใช้ ในการขอpassport iceland ให้ลูก มีอะไรบ้าง ค่ะ
    ดิฉันเปิดในเว็บ บางคนก้อว่า ต้องทำใบรับรองบุตร ที่ศาลเยาวชน ตรวจเลือด ยุ่งยาก มากเลย จริงรึเป่า ถ้าเราไม่อยากวุ่นวาย ให้ลูกต้องตรวจเลือด มีวิธีไหนบ้างค่ะ

    ตอบลบ